top of page

Perfecting On-Page SEO for E-commerce Product Pages – A Cheatsheet

อัปเดตเมื่อ 14 ส.ค. 2564

สูตรลับ ทางลัด พิชิต SEO โดย Paddy Moogan



SEO คือ การสร้างหรือตกแต่งเว็บไซต์ของเราให้ปรากฏอยู่ในอันดับต้น ๆ ของผลการค้นหาผ่านทาง Search Engine แล้วเราจะตกแต่งและสร้างอย่างไรดีล่ะ ? วันนี้เรามีบทความดี ๆ จาก Paddy Moogan มาเล่าให้ฟังกันค่ะ


เมื่อปี 2012 Paddy Moogan ได้เขียนบล็อกเกี่ยวกับ cheatsheet ว่าในหน้าเว็บไซต์ 1 หน้า ควรประกอบด้วยองค์ประกอบพื้นฐานอะไรบ้าง (สามารถกดเข้าไปดูได้ที่ blog post for Moz) ถึงแม้ว่าองค์ประกอบพื้นฐานเหล่านั้นจะยังถูกนำมาใช้กันอยู่ในปัจจุบัน แต่ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป รวมถึง algorithm ของ Search Engine ต่าง ๆ ก็มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ดังนั้น Paddy Moogan จึงได้ปรับปรุง cheatsheet ขึ้นมาใหม่ เป็นสูตรลับที่ไม่ลับ ที่นำมาใช้แล้วจะประสบความสำเร็จในทำ SEO อย่างแน่นอน


และนี่คือตัวอย่าง Cheatsheet Template เวอร์ชั่นปรับปรุงใหม่



1. Trust Signals


ความน่าเชื่อถืออะไรบ้าง ที่ผู้เข้าชมจะมองหาในเว็บไซต์ของคุณ ? ระบบความปลอดภัยของบัตรเครดิต หมายเลขโทรศัพท์ หรือรายละเอียดการส่งของ ?

ในเว็บไซต์ของคุณจะต้องมี Trust Signals หรือ สัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงความน่าเชื่อถือประกอบอยู่ด้วย พร้อมทั้งระบุรายละเอียดอย่างชัดเจน เมื่อลูกค้าเข้าสู่เว็บไซต์ของคุณ ก็ล้วนต้องการความเชื่อมั่นว่า คุณนั้นมีความน่าเชื่อถือ ปลอดภัย และรู้สึกอุ่นใจที่จะให้ข้อมูลส่วนตัว ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลบัตรเครดิต หรือรายละเอียดต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดส่งสินค้า



2. HTTPS/SSL

HTTPS หรือ Hypertext Transfer Protocol Secure คือ โปรโตคอลสำหรับเรียกใช้งานเว็บไซต์ ที่ระบุว่าการส่งผ่านข้อมูลในเว็บไซต์จะถูกเข้ารหัสเพื่อความปลอดภัย เช่น รหัสผ่าน ข้อมูลบัตรเครดิต เป็นต้น ข้อมูลเหล่านั้นจะถูกเข้ารหัสไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ประสงค์ร้ายสามารถลอบฟัง แก้ไขและปลอมแปลงได้


SSL หรือ Secure Socket Layer เป็นเทคโนโลยีการเข้ารหัสข้อมูล เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการส่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะทำให้เว็บไซต์ของคุณถูกดักจับข้อมูลได้ลำบากขึ้นนั่นเอง


ถ้าเว็บไซต์ของคุณเป็นเว็บประเภท e-commerce คุณจะต้องตรวจดูให้แน่ใจว่า URLs ของคุณนั้นให้บริการผ่านทางโปรโตคอล HTTPS และต้องหมั่นตรวจสอบข่าวสารของผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (SSL Certificate) อยู่เสมอ ว่ามีความน่าเชื่อถือมากขึ้นหรือน้อยลงอย่างไร และอย่าปล่อยให้ใบรับรองหมดอายุเด็ดขาด ข้อมูลลูกค้าที่ส่งผ่านบนเว็บไซต์ของคุณจะได้มีความปลอดภัยมากที่สุด


3. Category breadcrumbs


ที่มา : https://uxcel.com


Breadcrumbs คือ ส่วนที่ใช้นำทางในเว็บไซต์ ช่วยให้ผู้เข้าชมเว็บไซต์รู้ว่าตอนนี้อยู่ที่ส่วนไหนของเว็บไซต์และอยู่ห่างจากหน้าแรกเพียงใด


สำหรับเว็บไซต์ประเภท e-commerce การวาง Category breadcrumbs ที่ชัดเจน จะช่วยบอกลูกค้าให้รู้ว่า ตอนนี้กำลังอยู่ที่หน้าสินค้าไหน หมวดหมู่อะไร ซึ่งช่วยให้ลูกค้าสามารถค้นหาสินค้าได้ง่าย และสามารถคลิกสลับไปมาระหว่างเมนูได้ อีกด้วย


ตัวอย่าง Breadcrumbs จาก www.central.co.th


ยกตัวอย่างเช่น ในขณะที่ลูกค้าเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ดูแลผิวหน้าที่เว็บ central.co.th ถ้าลูกค้าอยากเข้าไปเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ความงามในหมวดอื่น ๆ ด้วย ก็สามารถกดกลับไปที่หมวดหมู่สินค้า "ความงาม" ได้ และสามารถเลือกช็อปปิ้งดูสินค้าประเภทอื่น ๆ ต่อได้อีก ถ้าลูกค้าหาสินค้าที่ต้องการได้อย่างง่าย ๆ ก็หมายความว่าโอกาสในการขายก็ยิ่งจะมากขึ้นไปด้วย


4. Customer reviews

การแสดงรีวิวจากลูกค้าบนหน้าเว็บไซต์ หรือหน้าแสดงสินค้า เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการสร้าง content ที่ดี และใช้ Review schema เพื่อแสดงข้อมูลรีวิวเหล่านั้นประกอบด้วย เช่น การใช้ Star Rating เป็นต้น


ตัวอย่าง การใช้ Star Rating จาก Wongnai และ Shopee

ถ้าหากคุณใช้ third-party system ก็ต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าข้อมูลรีวิวนั้น สามารถสืบหาได้ (crawlable) จากระบบจัดเก็บข้อมูลของ search engine ต่าง ๆ และจะต้องไม่มีเนื้อหาซ้ำบนเว็บไซต์เดียวกัน


5. Product videos

วีดีโจะช่วยแสดง insights เพิ่มเติมให้กับสินค้าของคุณ ช่วยแสดงวิธีการใช้และรายละเอียดเบื้องลึกของสินค้า แนะนำว่าให้ใช้ hosting platform ที่สามารถปรับแต่งได้ เช่น Wistia เพราะคุณจะได้ปรับแต่งวีดีโอและแสดงเอกลักษณ์แบรนด์ของคุณไปด้วยในตัว


อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่



6. Search options

เว็บไซต์ของคุณจะต้องมี "ช่องค้นหา" ที่ชัดเจนและทำงานได้รวดเร็ว เพราะผู้เข้าชมบางคนชอบใช้ช่องค้นหามากกว่าการเลื่อนดูเนื้อหาทั้งหมดในเว็บไซต์


ตัวอย่าง ช่อง Search option จาก https://www.youtube.com


นอกจากนี้ คุณต้องตรวจสอบให้แน่ใจด้วยว่า ผลการค้นหา นั้นมีความแม่นยำและครอบคลุม และต้องคำนึงกรณีที่มีการพิมพ์ผิดหรือผิดหลักไวยากรณ์ด้วย การใช้เทคนิค suggestion , auto correct หรือ auto complete ในช่องค้นหา ก็จะทำให้ลูกค้าของคุณสามารถค้นหาสินค้าได้ง่ายขึ้นไปอีก และถ้าสินค้าหาง่ายโอกาสในการขายก็ยิ่งจะเพิ่มขึ้นไปอีกอย่างแน่นอน


ตัวอย่าง Search option จาก https://www.apple.com



7. Clear call to action


"ปุ่มซื้อ" ต้อง ชัดเจน และ คลิกง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนอุปกรณ์ประเภทมือถือ


ตัวอย่าง ปุ่มซื้อ จาก https://www.tedbaker.com


Tips ! การใช้เครื่องมือช่วยวิเคราะห์ (Data Analytics Tools) เพื่อเก็บข้อมูลพฤติกรรมของลูกค้าบนหน้าเพจสินค้า จะช่วยให้คุณมองเห็นปัญหาที่เกิดขึ้น และสามารถนำไปปรับแก้กระบวนการซื้อให้ดียิ่งขึ้นได้อีกด้วย



8. Microdata and Schema


ใน Schema.org Library จะมี microdata สำหรับ mark up หน้าเพจสินค้าอยู่เป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นราคา, รายละเอียด, รีวิว และอื่นๆ การใช้ mark up เหล่านั้น จะช่วยให้ google เข้าใจ content ของคุณมากขึ้น

ตัวอย่าง Markup Schema จาก https://www.e2msolutions.com

อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่



9. Q&A content


Q&A ก็เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการสร้าง content แต่จะเป็น content ที่มาจากผู้ใช้งานเอง เป็นส่วนที่ให้ลูกค้าได้มีโอกาสสอบถามสิ่งที่สงสัย โดยจะมีทีมงานหรือ community คอยตอบคำถามให้ โดยข้อมูลส่วนนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับสินค้าที่ต้องการรายละเอียดทางเทคนิค ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าเข้าใจสินค้าของคุณมากขึ้น ทั้ง sales, marketing และ customer support ก็ยังสามารถนำ content ตรงนี้ไปใช้ประโยชน์ต่อได้อีกด้วย


ตัวอย่าง Q&A Content จาก www.amazon.co.uk


10. Images


ตัวอย่าง รูปสินค้า จาก IKEA


ควรใช้รูปภาพสินค้าที่มีความคมชัดและมีคุณภาพสูง ถ้าเป็นไปได้ก็ควรปรับแต่งรูปภาพให้เหมาะสมกับเว็ปไซต์ของคุณด้วย หากมีตัวอย่างของสินค้าที่นำไปใช้งานจริงหรือแสดงเป็น lifestyles ก็จะช่วยให้ สินค้าของคุณดูน่าสนใจขึ้นไปอีก และควรหลีกเลี่ยงการใช้รูปภาพสินค้าที่ดูออกว่าเป็นภาพจาก Stock !


11. Product description


อย่าเขียนคำบรรยายสินค้าเพื่อ 'SEO copy' เป็นหลัก คุณจะต้องเขียนคำอธิบายสินค้าให้ มีความชัดเจน กระชับ และ ได้ใจความ อาจใช้กรณีตัวอย่าง ใช้การสรุปเป็นข้อ ๆ แบบ bullet points หรือใช้ข้อมูลเชิงเทคนิค ช่วยอธิบายให้ลูกค้าของคุณเข้าใจตัวสินค้ามากขึ้น


ตัวอย่าง Product Description จาก ao.com


12. Phone number

เบอร์โทรศัพท์เป็นหนึ่งใน Trust Signal ที่ดี การใส่เบอร์โทรศัพท์ที่ชัดเจน และระบุช่วงเวลาที่สามารถติดต่อได้ จะช่วยให้ลูกค้าของคุณสามารถติดต่อสอบถามได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย


ตัวอย่าง Phone Number จาก www.trophystore.co.uk



13. Live chat


สร้าง live chat ไว้โต้ตอบลูกค้าอย่าง real-time เผื่อไว้สำหรับคนที่ไม่สะดวกใช้โทรศัพท์ ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ดี ที่ทำให้คุณได้มีปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า


ตัวอย่าง Live Chat จาก https://www.intercom.com



14. Address and company details


ระบุที่อยู่จริงของบริษัท หมายเลขจดทะเบียน และ VAT number/Tax ID สิ่งเหล่านี้ นอกจากจะช่วยยืนยันว่าคุณมีตัวตนอยู่จริงและเป็นบริษัทที่เชื่อถือได้แล้ว ยังเป็นประโยชน์สำหรับลูกค้าที่เป็น B2B อีกด้วย เพราะพวกเขาจำเป็นต้องมีข้อมูลเหล่านี้ไว้ใช้สำหรับทำการซื้อขายในระดับองค์กร


15. Page title


ระบุชื่อสินค้าและโปรโมชั่นการจัดส่ง ในกรณีมีโปรจัดส่งฟรี หรือ สั่งวันนี้ได้พรุ่งนี้ เพื่อกระตุ้นให้มีการคลิกเข้ามาดูจากหน้าผลการค้นหา และอาจใช้ตัวแปรจากฐานข้อมูลเข้าช่วยในการสร้าง page title ในกรณีที่ page title ยาวมาก ๆ


16. META description


เป็นเสมือนโฆษณาเล็ก ๆ น้อยให้กับสินค้า การใส่ชื่อสินค้าและโปรโมชั่นการจัดส่ง จะช่วยแสดงถึงความคุ้มค่าของสินค้า และช่วยเพิ่มโอกาสที่จะมีคน click เข้ามาจากหน้า ผลการค้นหา ถ้าใช้ Google Ads ก็ให้ใช้การเขียนที่ดึงดูดผู้คนเข้ามาเยี่ยมชมเว็บไซต์ และใส่ข้อความเหล่านั้นไว้ใน META description ด้วย


ตัวอย่าง META description



17. Page URL

ใน URL ของเพจ ควรใส่เป็นชื่อสินค้าระบุลงไปเลย หลีกเลี่ยงการใช้คำที่เป็น parameter ใน database พยายามทำให้เป็นชื่อที่มนุษย์อ่านแล้วเข้าใจง่ายที่สุด และหลีกเลี่ยงการใส่ category ใน URL เพราะถ้าสินค้าชิ้นหนึ่งอยู่ได้หลายหมวดหมู่ อาจทำให้หน้าเพจของสินค้าซ้ำกันได้



18. Header tags


ใช้ Header tags ให้เหมาะสม เช่น ใช้ H1 สำหรับชื่อสินค้า และใช้แท็ก H2+ ในการแบ่งหน้าเพจ เช่น ส่วนที่เป็น review หรือ ส่วนที่เป็นบทความ เป็นต้น


ตัวอย่าง การใช้ Header tags ในส่วนต่างๆ จาก www.marksandspencer.com



19. Open Graph Tags

ใช้ Open Graph Tags ในการแสดงผลสำหรับแชร์บน social media หรือบนแหล่งอื่น ๆ

ตัวอย่างองค์ประกอบ open graph tags จาก https://ahrefs.com



หลังจากสร้างการแสดงผลด้วย open graph tags แล้ว ต้องทดสอบการแสดงผลเมื่อถูกนำไปแชร์บน social media ด้วย ควรใช้ภาพและข้อความที่ต้องการสื่อให้ชัดเจน เพื่อให้การแชร์เพจบน community ต่างๆ มีประสิทธิมากที่สุด


ตัวอย่างการแสดงผล open graph tags จาก https://ahrefs.com



20. Responsiveness


เช็คให้ดีว่าหน้าเพจของคุณแสดงผลบน platform อย่างถูกต้องหรือไม่ ทั้งบนจอคอมพิวเตอร์ จอมือถือ หรือจอแท็บเล็ต และต้องทำให้ข้อมูลส่วนบุคคลสามารถกรอกได้ง่ายที่สุดเท่าที่ทำได้

ตัวอย่างการแสดงผลแบบ Responsive บน Desktop (ซ้าย) และ จอมือถือ (ขวา) จาก www.schuh.co.uk



21. Related products

แนบ link ตัวอย่าง สินค้าที่คล้ายกัน หรือ สินค้ายอดนิยม ที่มีความเกี่ยวข้องกับสินค้านั้น โดยจัดให้อยู่ในหน้าเดียวกัน เพื่อให้ลูกค้าสามารถเปรียบเทียบสินค้าได้ทันที และจะสามารถตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วว่าอะไรคือสิ่งที่เหมาะที่สุดสำหรับพวกเขา


ตัวอย่าง Related Products จาก www.guitarguitar.co.uk


22. Page speed


ไม่มีใครที่ชอบเว็บไซต์ที่โหลดช้าเป็นเต่าเดิน จริงไหม ? เว้นแต่ว่าคุณจะอยากได้ของในเว็บไซต์นั้นจริง ๆ ดังนั้น ตรวจสอบให้ดีว่าเว็บไซต์ของคุณสามารถแสดงผลขึ้นมาได้อย่างรวดเร็ว ทั้งบนคอมพิวเตอร์และบนมือถือ



ไม่ยากเลยใช่มั้ยล่ะ ลองนำไปปรับใช้ดูนะคะ แล้วยอดขายคุณจะปัง ๆ แน่นอนค่ะ




แหล่งที่มา

  1. https://www.aira.net/blog/perfecting-on-page-seo-for-ecommerce-product-pages-a-cheatsheet

  2. https://contentshifu.com/blog/what-is-ssl

  3. https://standard.etda.or.th


ดู 58 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page